กฟผ. ยืนยันการเปิด/ปิดเขื่อนปากมูลได้ปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด
กฟผ. เผยการเปิด/ปิดเขื่อนปากมูลเป็นไปตามมติของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งพิจารณาตามความเหมาะสมของสภาพน้ำ ยืนยันว่าหากรัฐบาลศึกษาแล้วมีมาตรการแก้ไขปัญหาออกมาใหม่ กฟผ. ก็พร้อมปฏิบัติตาม
(๑๔ ม.ค.) นายธวัช วัจนะพรสิทธิ์ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม ในฐานะโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล เรียกร้องให้เปิดเขื่อนปากมูล อย่างถาวร ตามมติคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลที่มี นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ ๔ พ.ย. ๕๓ ซึ่งหากไม่ทำตามมติให้จ่ายค่าเยียวยาความเสียหายให้แก่ชาวบ้านผู้ได้รับผล กระทบว่า
ปัจจุบัน นี้การบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล ประกอบด้วยการเปิด/ปิดประตูระบายน้ำ การรักษาระดับน้ำ และการระบายน้ำ กฟผ. ได้ดำเนินการตามมติของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นประธาน และมีผู้แทนเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ๑๒ คน ผู้แทนสมัชชาคนจน ๑๒ นักวิชาการและองค์กรเอกชน ๑๐ คน หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ๑๘ คน ร่วมเป็นกรรมการ (ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ โดยกระทรวง มหาดไทยออกคำสั่งที่ ๒๗/๒๕๕๑ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการ)
คณะ กรรมการฯ จะกำหนดวันปิด/เปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลให้สอดคล้องกับสภาพน้ำในแต่ละ ปี โดยคำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบของราษฎรทุกกลุ่ม ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการฯ ได้บริหารจัดการน้ำด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมภายใต้แนวคิดของการแบ่งปัน ประโยชน์และการอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธีและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เกิดพัฒนาการในการบริหาร จัดการน้ำด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงในพื้นที่เป็นหลัก เช่น ในปี ๒๕๕๓ ซึ่งเกิดภาวะแห้งแล้งยาวนาน คณะกรรมการฯ มีมติเลื่อนการเปิดประตูระบายน้ำจากปกติประมาณเดือนมิถุนายน เป็นเดือนสิงหาคม เป็นต้น
สำหรับ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ซึ่งมี นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานนั้น รัฐบาลได้ตั้งขึ้นเพื่อให้มาศึกษา รวบรวม และตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล และจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐบาลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเขื่อนปาก มูล
“คณะ กรรมการแก้ไขปัญหาฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ๒ ชุด ได้แก่ คณะอนุกรรมการรับฟังความเห็นของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง เขื่อนปากมูล และ คณะอนุกรรมการศึกษาข้อมูลงานวิจัยและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา เขื่อนปากมูล เพื่อไปรวบรวมข้อมูลแต่ละด้าน ซึ่งจากการประชุมครั้งล่าสุดคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลยังต้องรวบรวม ข้อมูลอื่นๆ ให้รอบด้านเพื่อนำมาพิจารณาประกอบกับข้อมูลที่คณะอนุกรรมการทั้ง ๒ คณะนำเสนอ ก่อนที่จะเสนอต่อรัฐบาลพิจารณากำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาในระยะยาวต่อไป” โฆษก กฟผ. กล่าว
นาย ธวัชฯ กล่าวด้วยว่า ดังนั้นขณะนี้การเปิด/ปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล กฟผ. ต้องปฏิบัติตามมติคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล ซึ่งพิจารณาตามความเหมาะสมของสภาพน้ำ ทั้งนี้หากมีมาตรการแก้ไขปัญหาในระยะยาวจากรัฐบาลออกมา กฟผ. ก็พร้อมจะปฏิบัติตามนโยบายต่อไป