นักวิชาการ-เอกชนหนุนรัฐอุ้มดีเซล
นัก วิชาการ – ผู้ประกอบการ หนุนรัฐอุดหนุนราคาดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท แต่ควรใช้ระยะสั้น แนะดึงมาตรการภาษีดูแลระยะยาว หวั่นกระทบฐานะกองทุนน้ำมันฯ
นาย เทียนไชย จงพีร์เพียง นักวิชาการทางด้านพลังงาน บอกว่า การรัฐบาลตรึงราคาดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท เป็นการช่วยด้านจิตวิทยาไม่ให้ราคาค่าขนส่งและสินค้าต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลควรตรึงในระยะสั้นเท่านั้น เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อกองทุนน้ำมันในอนาคต ขณะเดียวกันมองว่าหากดีเซลเพิ่มขึ้นเกิน 30 บาท ก็จะไม่ส่งผลต่อประชาชนมากนัก เนื่องจากมีทางเลือกเชื้อเพลิงอื่นๆ เช่นเดียวกับค่าขนส่งต่างๆ ที่ผู้ประกอบการได้มีการปรับตัวด้วยการหันไปพึ่งพาพลังงานทางเลือกมากขึ้น แล้ว
เช่น เดียวกับนายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ที่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลนำเอาเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 5,000 ล้านบาท มาอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท จะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนและช่วยให้ราคาสินค้าไม่ปรับตัวสูงขึ้นใน ช่วงนี้ แม้จะไม่ส่งผลในทางปฏิบัติจริงมากนัก เพราะราคาดีเซลที่ตรึงไว้เป็นเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น ส่วนในต่างจังหวัดราคาน้ำมันดีเซลเกิน 30 บาทไปนานแล้ว แต่หากวงเงินหมดลงรัฐไม่ควรดึงเงินจากกองทุนน้ำมันฯ มาอุดหนุนต่อ แต่ควรลดภาษีสรรพสามิตดีเซลแทน เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อกองทุน ซึ่งจะเป็นการสร้างความเป็นธรรมกับประชาชนที่ไม่ได้ใช้ดีเซลด้วย
นายมนู ญ บอกด้วยว่า รัฐบาลควรแทรกแซงราคาน้ำมันเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะแนวโน้มราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว ดี ตลอดจนสภาพคล่องที่ล้นทำให้มีการเข้ามาเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ โดยคาดว่าปีนี้ราคาน้ำมันตลาดโลกจะอยู่ที่ 90-95 เหรียญต่อบาร์เรล
ขณะที่ นายทองอยู่ คงขันธ์ เลขาธิการสมาพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย สนับสนุนนโยบายการตรึงดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท เพราะต้นทุนน้ำมันที่นำมาคิดคำนวณค่าขนส่งจากผู้ใช้บริการ ขณะนี้คิดจากราคาดีเซลที่ลิตรละ 26 บาท ดังนั้นหากราคาเกิน 30 บาทจะต้องขึ้นค่าขนส่ง ซึ่งราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 3 บาท จะต้องปรับขึ้นค่าขนส่งไม่น้อยกว่า 10% ซึ่งแน่นอนก็จะกระทบกับราคาสินค้าตามมา